-
ร่วมปราบก๊กต่าง
ๆ
-
ในคืนวันหนึ่ง
พระเจ้าตากสินมหาราชทรงขึ้นบรรทมที่พระที่นั่ง
ทรงปืน ได้ทรงสุบินว่า
พระมหากษัตริย์องค์ก่อน
ๆ
ได้ขับไล่ไม่ให้พระองค์ปกครองกรุงศรีอยุธยา
เมื่อทรงตื่นบรรทม พระองค์ทรงเล่าเรื่องนี้แก่บรรดาทหาร และชักชวนให้มาสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ธนบุรี
เพราะบังเกิดผลดีหลายอย่าง
คือ
ธนบุรีเป็นเมืองเล็ก
ทหารมีจำนวนน้อยก็ป้องกันได้
ถ้าบังเอิญเกิดพ่ายแพ้แก่ข้าศึกก็สามารถลงเรือหนีไปตั้งตัวที่จันทบุรีได้
ส่วนอยุธยานั้นเสียหายมากเพราะพม่าทำลาย
ยากที่จะฟื้นฟูขึ้นใหม่
พม่าก็รู้ลู่ทางดีแล้ว
และอยุธยากว้างใหญ่เกินไป
แต่ทหารพระเจ้าตากสินมหาราชมีน้อยไม่เพียงพอที่จะป้องกันรักษา
-
เมื่อได้ชัยชนะสุกี้พระนายกองที่ค่ายโพธิ์สามต้นก็เท่ากับกู้เอกราชจากพม่าได้สำเร็จ
ซึ่งตรงกับวันเสาร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๑ ค่ำ
ปีกุน พ.ศ.
๒๓๑๐ (ตรงกับวันที่
๖ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๓๑๐)
จึงสรุปได้ว่าไทยเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าเมื่อวันที่
๗ เมษายน พ.ศ.
๒๓๑๐ สามารถกอบกู้บ้านเมืองกลับมาได้โดยใช้เวลาเพียง
๗ เดือนเท่านั้น
เมื่อกอบกู้เอกราชได้แล้วพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นกษัตริย์
ปกครองกรุงธนบุรีและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หลวงพิชัยอาสาเป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถ
มีตำแหน่งเป็นนายทหารเอกราชองครักษ์ในพระองค์ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๑
ในปีเดียวกันนี้ พม่าได้ยกทัพมาก ๑
หมื่นคน มาทางเมืองไทรโยค
พระเจ้าตากสินมหาราชพร้อมด้วยเจ้าหมื่นไวยวรนาถ ยกทัพทางชลมารคไปทางสมุทรสงคราม
โจมตีข้าศึกจนแตกพ่ายไปในเวลาไม่นานนัก
-
-
ปลายปี พ.ศ.
๒๓๑๑ พระเจ้าตากสินมหาราชได้เริ่มรวบรวมคนไทยก๊กต่าง
ๆ
ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
โดยปราบก๊กพิษณุโลก
ซึ่งตั้งแข็งเมืองขึ้นก่อน
พระองค์พร้อมด้วยเจ้าหมื่นไวยวรนาถ
กระสุนพลาดไปถูกพระเจ้าตากสินมหาราช
ถูกพระชงฆ์เบื้องซ้าย
จึงสั่งให้ถอยทัพกลับ
ก๊กพิษณุโลกซึ่งมีพระยาพิษณุโลก
(เรือง) เป็นหัวหน้าอยู่เข้มแข็งมาก
-
เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชรักษาพระองค์เป็นปกติดีแล้ว
จึงเสด็จยกทัพไปปราบกรมหมื่นเทพพิพิธ
ซึ่งตั้งตนเป็นใหญ่ที่เมืองพิมาย
กรมหมื่นเทพพิพิธ ให้ตั้งทัพดักไว้ที่ด่านขุนทด
และด่านจอหอ
พระเจ้าตากสิน
-
มหาราชโปรดให้พระยามหามนตรีและพระราชวรินทร์ตีด่านกระโทกและโปรดให้เจ้าหมื่นไวยวรนาถ
เป็นทัพหน้าบุกโจมตีด่านจอหอและเมืองพิมายจนได้ชัยชนะ
จับตัวเจ้าพระยาศรีสุริยงศ์
พระยามนตรี
กับม่วงญา ซึ่งเป็นพม่าแตกหนีจากค่ายโพธิ์สามต้น
ไปเข้ากับกรมหมื่นเทพพิพิธได้โปรดให้ประหารชีวิตคนทั้ง
๓ เสีย
-
ฝ่ายพระมหามนตรีและพระราชวรินทร์
เมื่อตีด่านขุนทดได้แล้ว
ยังไปตีเมืองเสียมราฐของเขมรได้อีก
กรมหมื่นเทพพิพิธเมื่อเห็นจวนตัวและพ่ายแพ้
จึงเตรียมพระองค์จะหนีไปหลวงพระบาง
ชาวเมืองนครราชสีมาจึงจับพระองค์ส่งถวายพระเจ้าตากสินมหาราช