-
เป็นเจ้าเมืองพิชัย
ส่วนพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จโดยทางเรือมีพระยาสีหราชเดโช
(จ้อย หรือ ทองดี
ฟันขาว) ตำแหน่งทหารเอกราชองครักษ์ตามเสด็จในเรือพระที่นั่งด้วย
-
ฝ่ายเจ้าพระฝางเมื่อได้ทราบว่าพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพมาทั้งทัพบกทัพเรือเป็นจำนวนมากมายเช่นนั้นก็ตกใจ
และในเวลานั้นหลวงโกษา (ยัง)
เจ้าเมืองพิจิตรคนสนิทของเจ้าพระยาพิษณุโลกได้มาเป็นคนของเจ้าพระฝางแล้ว
เจ้าพระฝางได้สั่งให้หลวงโกษา
(ยัง) ยกทัพไปตั้งรับป้องกันไว้ที่พิษณุโลก
เมื่อทัพธนบุรีมาถึงพิษณุโลก
พระองค์ตรัสรับสั่งให้พระยาสีหราชเดโชเข้าโจมตีทันที
ส่วนพระองค์ก็เข้าโจมตีอีกด้านหนึ่ง
ด้วยอาวุธปืนที่มีอานุภาพของฝ่ายธนบุรีมีมากกว่าฝ่ายตรงข้ามมาก
ในที่สุดฝ่ายธนบุรีก็เข้าเมืองพิษณุโลกได้ หลวงโกษา (ยัง)
ได้พาทหารหนีไปตั้งรับที่ใหม่
คือ บริเวณบ้านปากโคกใกล้
ๆ กับเมืองนั่นเอง
แต่ทหารฝ่ายเจ้าพระฝางเสียกำลังใจเสียขวัญมาก จึงพากันหลบหนีแตกฉานซ่านเซ็นไป
หลวงโกษา (ยัง) เห็นท่าจะไม่ได้การ
จึงทิ้งที่มั่นบ้านปากโคกหนีกลับเข้าเมืองสวางคบุรี
หรือเมืองฝาง พระเจ้าตากสินมหาราชจึงยึดเมืองพิษณุโลกได้ทั้งหมด
-
ทรงประทับอยู่พิษณุโลก
๙ วัน กองทัพพระยายมราช
(บุญมา) ก็ยกเข้าทัน ต่อมาอีก ๒ วัน
กองทัพของพระยาพิชัยราชาก็ยกมาถึงพิษณุโลก พระองค์ได้จัดเลี้ยงกองทัพอย่างเอิกเกริก เพื่อให้กำลังใจแก่ทหารหาญ
สาเหตุที่ทัพบกช้าไปก็เพราะเป็นฤดูฝนการเดินทางจึงลำบาก
-
พระเจ้าตากสินมหาราช
ไม่ทรงปรารถนาที่จะรบกับเจ้าพระฝางเพราะเป็นคนไทยด้วยกัน
และบรรดาบุคคลสำคัญในก๊กเจ้าพระฝางส่วนมากก็อยู่ในสมณเพศ
เช่น พระครูศิริมานนท์
พระครูเพชรรัตน์
พระอาจารย์จันทร์
พระอาจารย์ทอง
พระอาจารย์เกิด เป็นต้น ได้พยายามเกลี้ยกล่อมให้ยอมอ่อนน้อม แต่ทางฝ่างเจ้าพระฝางไม่ยินยอมพระเจ้าตากสินจึงตรัสสั่งให้กองทัพพระยายมราช
(บุญมา)
และพระยาพิชัยราชาเข้าล้อมเมืองสวางคบุรีไว้
-
ในเวลานั้นเมืองสวางคบุรีหรือเมืองฝาง
กำแพงเมืองใช้ขอนไม้ขนาดใหญ่ปักเป็นเนียดแล้วถมดินเป็นเชิงเทินยากแก่การโจมตีมาก
เจ้าพระฝางได้ส่งกองทัพออกมารบนอกค่ายหลายครั้ง แต่ต้องประสบความปราชัยทุกครั้ง
ผู้คนพลเมืองภายในเมืองจึงหมดกำลังใจ
เสียขวัญ เมื่อเห็นทหารฝ่ายธนบุรีจำนวนมากมายล้อมเมืองเอาไว้
เจ้าพระฝางพยายามปลุกปลอบขวัญชาวบ้านให้เข้มแข็ง แต่ก็ไร้ผล
เพราะชาวเมืองได้ท้อถอยและรู้สึกเกรงกลัวทัพฝ่ายธนบุรีมากยิ่งขื้น
เจ้าพระฝางเห็นการรบพุ่งซึ่งฝ่ายตนเสียเปรียบฝ่ายตรงข้ามอยู่ตลอดเวลาจึงไม่ให้ทหารออกรบคงให้ตั้งมั่นอยู่แต่ภายในเมือง
และบังเอิญในเวลานั้นช้างของเจ้าพระฝางเกิดตกลูกเป็นช้างพังเผือก
เจ้าพระฝางซึ่งรอบรู้ในทางไสยศาสตร์มากยิ่งตกใจมากยิ่งขึ้นได้คิดเห็นว่าการที่ช้างเผือกเกิดขึ้นในเวลาที่มีข้าศึกติดบ้านเมืองเช่นนี้
หาใช่บุญวาสนาของตนไม่
หากเป็นบุญบารมีของฝ่ายผู้มาทำศึกด้วย
ทำให้เจ้าพระฝางเกิดความท้อแท้ใจเป็นอย่างยิ่งได้สู้อุตส่าห์พยายามให้ชาวเมืองออกสู้รบอีก
๓ ครั้ง และแล้วตัวท่านเองก็ได้ตัดสินใจนำสมัครพรรคพวกตีฝ่าวงล้อมหนีออกจากเมืองในเวลากลางคืน
ได้นำเอาช้างเผือกไปด้วย
และในคืนนั้นพระยายมราช (บุญมา)
และพระยาพิชัยราชาก็เข้าเมืองได้
และยึดเมืองฝางไว้ในอำนาจ
พระยาพิชัยราชาได้อยู่รักษาเมือง
ส่วน
-
ส่วนพระยายมราช (บุญมา)
ออกติดตามเจ้าพระฝางไปทางเหนือไม่พบร่องรอยแต่อย่างใด
คงได้แต่ช้างเผือกของเจ้าพระฝาง
จึงนำเข้าทูลถวายพระเจ้าตากสินมหาราช
-
๔. เป็นเจ้าเมืองพิชัย
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชปราบก๊กเจ้าพระฝางได้แล้ว
ก็ได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบให้ทะแกล้วทหารของพระองค์ให้ทั่วถึงกัน
เช่น ทรงแต่งตั้งให้พระยายมราช
(บุญมา) เป็น
เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช
ครองเมืองพิษณุโลก
ให้พระยาพิชัยราชา เป็น
พระยาสวรรคโลก
ครองเมืองสวรรคโลก
ให้พระท้ายน้ำ เป็น พระยาสุโขทัย
ครองเมืองสุโขทัย
เป็นต้น
-
ส่วนนายทหารเอกราชองครักษ์ของพระองค์ท่าน
คือ พระยาสีหราชเดโช (จ้อย
หรือทองดี ฟันขาว)
นั้น ได้โปรดเกล้าฯ บำเหน็จความชอบให้เป็น
พระยาพิชัย)
ปกครองเมืองพิชัยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนแต่เยาว์วัยมาแล้ว
ให้มีอำนาจประหารชีวิตผู้กระทำผิดได้เพราะเมืองพิชัยเป็นเมืองหน้าด่าน
ต้องให้มีการบังคับบัญชาอย่างเฉียบขาด
ในยามที่มีข้าศึกมารุกราน
ซึ่งในเวลานั้นพม่ากำลังรบกวนไทยมากเข้าครองอยู่ทั่วลานนาไทย