-
หมื่นหาญณรงค์ นักรบคู่ใจ
-
เมื่อพระยาพิชัย (ดาบหัก)
ค่อยคลายความเศร้าลงบ้างแล้ว
ก็ประคองอุ้มศพหมื่นหาญณรงค์
(บุญเกิด)
เข้าเมืองพิชัยกระทำการฌาปนกิจศพให้อย่างสมเกียรติยศ
มีบรรดาทหารหาญชาวเมืองมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก ผู้เจ้าร่วมพิธีต่างร้องไห้รำพึงรำพันเสียดายหมื่นหาญณรงค์ไปตาม
ๆ กัน
-
เมื่อทรงทราบเรื่องราวเกี่ยวกับพม่าเข้าโจมตีเมืองพิชัย
๒ ครั้ง พระยาพิชัย
นายทหารเอกองครักษ์ของพระองค์
สามารถป้องกันเมืองพิชัยเอาไว้ได้ด้วยความสามารถทนงองอาจกล้าหาญยิ่งนัก
ทำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงรู้สึกภาคภูมิใจในพระยาพิชัยดาบหักเป็นอันมาก
สมกับที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย
โปรดเกล้าฯ
ให้พระยาพิชัยดาบหักเป็นเจ้าเมืองพิชัย
เป็นด่านป้องกันพม่าทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
และเมื่อทรงทราบถึงการสูญเสียหมื่นหาญณรงค์
(บุญเกิด) ก็ทำให้ทรงรู้สึกเสียดายนายทหารคนนี้มาก เพราะเป็นยอดนักรบเป็นทหารคนสนิทคู่ใจของพระยาพิชัยดาบหัก
เป็นวีรบุรุษที่มีส่วนป้องกันประเทศชาติให้รอดพ้นจากพม่าข้าศึกด้วยผู้หนึ่ง
-
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงดำริว่า
ถ้าพม่ายังคงยึดครองเชียงใหม่อยู่ก็คงจะต้องลอบเข้ามาโจมตีไทยอยู่อย่างไมีหยุดยั้ง
เพื่อหาทางกำจัดพม่าให้ออกไปจากเชียงใหม่อย่างเด็ดขาด
จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองฝ่ายเหนือทุกเมืองเข้าเฝ้าเพื่อให้ทราบถึงแผนการที่จะขับไล่พม่าออกไปจากเมืองเชียงใหม่
และหัวเมืองต่าง ๆ
ที่พม่ายังยึดครองอยู่ทางภาคเหนือ
ได้มีเจ้าเมืองทุกเมืองทางฝ่ายเหนือรีบเข้าเฝ้าโดยพร้อมเพรียงกัน
เพื่อรับทราบแผนการลับ
-
คงมีพระยาพิชัยดาบหัก
และพระยาสวรรคโลกเจ้าเมืองสวรรคโลกที่ไม่ได้เข้าเฝ้า
จึงทรงสั่งให้สอบสวนข้อเท็จจริงให้ศาลลูกขุนพิจารณาลงโทษ
พระพิชัยดาบหักได้กราบทูลว่า
สาเหตุที่ไม่เข้าไปเฝ้าในครั้งนี้เพราะเจ้าเมืองต่าง
ๆ
ในภาคเหนือไม่อยู่ต้องรีบเข้าเฝ้าหมด
ย่อมเป็นการหมิ่นเหม่ต่อการรุกรานของพม่าข้าศึก แม้กระทั่งกองทัพทุกหัวเมืองอยู่พร้อมกันด้วยความเข้มแข็งตลอดเวลาที่ผ่านมาแล้วนั้น
พม่าข้าศึกก็ยังลอบเข้าโจมตีอยู่เสมอ
ถ้าหากข้าศึกรุกรานเข้าในขณะที่แม่ทัพนายกองบุคคลสำคัญของเมืองต่าง
ๆ
เหล่านี้ไม่อยู่แล้วความเสียหายพ่ายแพ้ของไทยอาจเกิดขึ้น
และยากแก่การแก้ไขภายหลัง
จริงอยู่การเข้าเฝ้าครั้งนี้มีความสำคัญยิ่ง แต่เมื่อพิจารณาโดยรอบคอบถึงส่วนได้ส่วนเสียแล้ว
จึงตัดสินใจอยู่ป้องกันทัพพม่าก่อน
-
แต่ความผิดของพระยาพิชัยดาบหักคงมีอยู่
คือ
ขัดพระบรมราชโองการด้วยเหตุผลดังกล่าว
จึงได้รับโทษถือถูกเฆี่ยน
๓๐ ที แล้วเรียกทัณฑ์บนไว้ให้รับราชการต่อไปอีก
และให้เตรียมการตามเสด็จกรีฑาทัพมุ่งตีเชียงใหม่ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้พระราชทานสิ่งของต่าง
ๆ
ให้พระยาพิชัยดาบหักอย่างมากมาย
มีเสื้อเข้มขาบหนึ่งผืน
ปืนคาบศิลา ๑ กระบอก
ปืนใหญ่หน้าเรือชนิดกินดินปืน
๑๕ ชั่ง ๑๔ ชั่ง ๑๒ ชั่ง และ
๑๐ ชั่ง รวม
๔ กระบอก และปืนคาบศิลาแบบอังกฤษ
สำหรับแจกแก่ทหารในกองทัพ
จำนวน ๒๘๐ กระบอก และของอย่างอื่นอีกเป็นจำนวนมาก
ทำให้กองทัพเมืองพิชัยเข้มแข็งขึ้นกว่าเดิมเป็นอันมาก
และแล้วในวันอังคาร แรม ๑๑ ค่ำ
เดือน ๑๒ ตรงกับวันที่
๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๗
กองทัพอันเกรียงไกรของไทยก็เคลื่อนออกจากกรุงธนบุรีด้วยความรวดเร็ว
และเงียบปราศจากการสอดรู้สอดเห็นของฝ่ายข้าศึก เมื่อมาถึงเมืองตาก
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงได้กำหนดภาระหน้าที่ของแม่ทัพนายกองตามแผนยุทธวิธีด้วยความเด็ดขาด
ทรงกำหนดให้พระยาพิชัยดาบหักอยู่ตำแหน่งสำคัญเช่นเดิมอีก
คือเป็นทัพหน้าของกองทัพหลวง
ส่วนเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง
ต่อมา คือ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)
และเจ้าพระยาสุรสีห์
(บุญมา) เป็นทัพหน้า
กองทัพไทยเข้าปะทะกับพม่าตั้งแต่เมืองลำปาง พม่าแตกพ่ายถอยไปเมืองลำพูนกองทัพไทยตามตีไปถึงเมืองลำพูนอีก
พม่าได้ตั้งแนวต้านทานกองทัพไทยที่จะบุกโจมตีไว้อย่างแน่นหนากว่าที่ลำปางมาก
เพราะโปสุพลาคิดว่า ถ้าลำพูนแตก
ทางเชียงใหม่ซึ่งเป็นฐานทัพใหญ่ของพม่า
จะต้องรับศึกหนักมาก
ดังนั้น
ก่อนที่กองทัพไทยจะเข้าประชิดติดกำแพงเมืองลำพูน
ต้องปะทะกับกองทหารของพม่าเป็นระยะ
ๆ
พม่าระดมยิงปืนใหญ่ปืนเล็กออกนอกกำแพงทุกด้าน
การสู้รบเต็มไปด้วยความดุเดือด
ทหารล้มตายเกลื่อนกล่นไปที่สมรภูมิ