-
-
สมัยราชกาลที่
๓ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่
ได้มีพระกรุณาโปรดให้พระบรมวงษานุวงค์
ช่วยกัน
ปูรณปฏิสังขรณ์พระอารามหลวง
สมเด็จกรมพระเดชาดิศร
ได้ปูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่
เช่นสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น
ส่วนพระอุโบสถหลังเก่าใช้เป็นวิหารใหญ่
ได้ปูรณสังขรณ์ภูเขามอซึ่งบรรจุพระบรมธาตุ กับสร้างมณฑปขึ้นบนยอดเขามอซึ่งเป็นลานสำหรับพุทธสาสนิกชนได้มากราบนมัสการพระบรมธาตุที่บรรจุไว้
-
ฐานะและที่ตั้งวัด
-
วัดราชคฤห์เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี
ชนิดวรวิหาร
ฝ่ายมหานิกาย
เรียกชื่อเต็มตามพระราชทินนามว่า
วัดราชคฤห์วรวิหาร
ตั้งอยู่เลขที่
๔๓๔ แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
ตั้งอยู่ระหว่างริมคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
ถนนเทอดไท
-
เขตวัด
-
ดูตามแผนผังของวัด
มีลักษณะพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ
๑๗ ไร่ ดังนี้
-
ทิศเหนือ
ติดต่อกับคลองบางกอกใหญ่
(ปัจจุบันเรียกว่า
คลองบางหลวง
ฝั่งขวา)
-
ทิศใต้
ติดต่อกับถนนเทอดไท
-
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับวัดจันทารามวรวิหาร
-
ทิศตะวันตก
ติอต่อกับคลองบางน้ำชน
-
ลำดับเจ้าอาวาสที่พอสืบได้มีดังนี้
-
๑.
พระอริยธัช
(ฝ่ายรามัญ)
-
๒.
พระครูสาธุธรรมคุณาธาร
(แฉ่ง)
-
๓.
พระครูสุนทรศีลขันธ์
(เมือง)
-
จากนั้นก็ว่างเจ้าอาวาสลง
จนถึง ปี
พ.ศ.๒๔๙๓
มีรักษาการโดยคณะสงฆ์
พระวิเชียรมุนี
(พันธ์
ป. ๘)
เจ้าอาวาสวัดอินทาราม
เจ้าคณะตำบลบางยี่เรือ
เป็นประธานรักษาการพระอารามหลวง
-
๔.
พ.ศ.
๒๔๙๔ - ๒๕๔๓ พระพิพัฒนธรรมคณี (พระมหาชำนาญ
ป.ธ. ๕)
-
๕.
พ.ศ.
๒๕๔๕ พระเมธีสุตาภรณ์
(เฉลา
เตชวนฺโต ป.ธ.
๙)
-
บูชนียวัตถุภายในวัดราชคฤห์วรวิหาร
ที่ควรเคารพบูชา
คือ
-
๑.พระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับมาจากกรุงราชคฤห์
ประเทศอินเดีย
-
๒.พระพุทธบาทจำลองบนเขามอ
-
๓.พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่เก่าแก่
สมัยกรุงศรีอยุธยา
-
๔.พระนอนหงายที่ศักดิ์สิทธิ์
สมัยกรุงธนบุรี
-
๕.เจ้าแม่กวนอิม
-
๖.เจ้าพ่อเขาตกที่ศักดิ์สิทธิ์
-
๗.ท่านพ่อพระยาพิชัยดาหัก
-
๘.
หลวงปู่ใหญ่ผู้ให้โชคลาภ
-
๙.
หลวงพ่อพิพัฒน์ธรรมคณี
(ชำนาญ)
-
การสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่างๆ
ภายในวัด มีดังนี้
-
วิหารใหญ่
-
วิหารใหญ่นี้ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่
อายุประมาณ ๓๐๐
๔๐๐ ปี แต่เดิมมา
เป็นอุโบสถหลังเล็ก
หลังคามุ่งด้วยสังกระสี
แต่เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชได้กู้ชาติแล้ว จึงชวนพระยาพิชัยดาบหักมาบำเพ็ญบุญที่วัดบางยี่เรือเหนือและใต้
และได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ทั้ง
๒ วัด โดยพระองค์ควบคุมดูแลวัดบางยี่เรือใต้