-
ปราบก๊กเจ้านครศรีธรรมราช
-
แล้วเจ้าพระยาจักรีและพระยาพิชัยราชา
ได้เคลื่อนกำลังออกติดตามล่าตัวเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชที่หนีลงไปทางเมืองสงขลาและเลยไปเมืองปัตตานี
แม่ทัพทั้งสองเคลื่อนกำลังไปถึงเมืองเทพฯ
จึงมีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าเมืองปัตตานี
ครั้งนั้นเมืองปัตตานียังเป็นเมืองเล็ก
ๆ เกรงอำนาจฝ่ายไทย
จึงจัดการจับตัวเจ้านครศรีธรรมราชส่งมาให้โดยเร็วแล้วจึงส่งตัวเข้าถวายเพื่อพิจารณา
บรรดาเสนาบดีแม่ทัพนายกองทั้งหลายเห็นควรประหารชีวิต
แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงลดหย่อนผ่อนโทษลงมาเพียงให้จำขังไปจนกว่าจะถึงกรุงธนบุรีเสียก่อน
ซึ่งภายหลังเจ้านครศรีธรรมราชก็ได้รับพระราชทานนิรโทษด้วยดี
-
เมื่อได้เมืองนครศรีธรรมราชแล้ว
ได้มีพระบรมราชโองการ
ตั้งเจ้านราสุริยวงศ์
พระเจ้าหลานเธอให้ครองเมืองนครศรีธรรมราชต่อไป
-
เมืองปราบก๊กเจ้านครศรีธรรมราชได้ในปี
พ.ศ. ๒๓๑๒ แล้วก็ทรงมีพระราชดำริที่จะปราบก๊กเจ้าพระฝาง
เพื่อรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือให้เป็นหนึ่งอันเดียวกันต่อไป
-
เจ้าพระฝาง
เดิมชื่อ เรือน
เป็นชาวเมืองเหนือ
ได้ลงมาศึกษาเล่าเรียนอยู่ในกรุงศรีอยุธยาได้เป็นที่พระพากุลเถร
ตำแหน่งพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระอยู่
ณ วัดศรีอโยธยา
ต่อมาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ทรงตั้งให้เป็นตำแหน่งสังฆราชขึ้นไปเป็นเจ้าคณะสงฆ์สวางคบุรี
อยู่ ณ วัดพระฝางสวางคบุรี
ครั้นกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี
พ.ศ. ๒๓๑๐
หัวเมืองทั้งปวงไม่มีราชาธิบดี
ผู้ที่มีอำนาจในเขตต่าง
ๆ
ได้พากันตั้งตนขึ้นเป็นเจ้า
มีถึง ๖ ก๊ก
-
พระสังฆราชเรือนเป็นผู้ที่ชาวเมืองเชื่อถือว่ามีวิชาอาคมเชี่ยวชาญ
เก่งในทางเครื่องรางของขลังจึงตั้งตัวเป็นเจ้าทั้งที่ตัวเองยังเป็นพระโดยเปลี่ยนสีเครื่องนุ่งห่มจากสีเหลืองเป็นสีแดง
คนทั้งหลายเรียกว่า เจ้าพระฝาง
ครอบครองอาณาเขตเป็นอิสระก๊กหนึ่ง
ตั้งแต่เมืองเวียงจันทร์
หลวงพระบาง น่าน แพร่
พิชัย ซึ่งใต้ลงไปเป็นก๊กใหญ่ก๊กหนึ่ง
คือ
ก๊กเจ้าพระยาพิษณุโลก
เป็นก๊กที่เข้มแข็งมาก
เพราะตัวเจ้าพระยาพิษณุโลกก็เคยเป็นนักรบมาก่อน เจ้าพระยาพิษณุโลกเดิมชื่อ
เรือง
เมื่อทราบว่าพระยาตากตีกรุงศรีอยุธยาได้
และก๊กของตนเองก็เคยได้ชัยชนะพระยาตาก
ทำให้เจ้าพระยาพิษณุโลกคิดตั้งตนเป็นกษัตริย์
ทำพิธีราชาภิเษกตั้งตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ ใช้พระราชโองการเหมือนอย่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินซึ่งครองกรุงศรีอยุธยามาแต่ก่อน
พอราชาภิเษกได้ ๗
วันก็เกิดอาเพท คือ
ตัวเจ้าพระยาพิษณุโลกเองเกิดเป็นโรคฝีขึ้นในลำคอแล้วเกิดพิราลัย
ในเวลาต่อมาไม่นานนัก
-
พระอินทร์อากร
ผู้เป็นน้องจึงครอบครองเป็นหัวหน้าก๊กพิษณุโลกต่อมา
มีเขตปกครองตั้งแต่ใต้เมืองพิชัยจนถึงเมืองนครสวรรค์
พระอินทร์อากรอ่อนแอไม่เก่งในทางการรบ
ไม่คิดตั้งตนเป็นกษัตริย์เหมือนพี่ชายเกรงจะเกิดอาเพทขึ้นกับตน
ก๊กพิษณุโลกจึงอ่อนแอลง
เพราะพวกไพร่บ้านพลเรือนไม่นับถือ
เมื่อพระเจ้าฝางทราบเช่นนั้นจึงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองพิษณุโลก
ต้องล้อมเมืองอยู่ ๒
เดือน ชาวเมืองก็เกิดขัดสนเสบียงอาหารอดอยากขึ้น
ชาวเมืองจึงเป็นไส้ศึก
เปิดประตูรับกองทัพของเจ้าพระฝาง
เจ้าพระฝางจึงยึดเมืองพิษณุโลก
จับพระอินทร์อากรได้ก็ให้ประหารชีวิตเลย
แล้วให้เก็บรวบรวมทรัพย์สินอาวุธยุทธภัณฑ์ และกวาดต้อนผู้คนจากพิษณุโลกกลับไปเมืองสวางคบุรี
ส่วนพวกราษฎรชาวเมืองพิษณุโลกและเมืองพิจิตรที่หนีได้ก็พากันอพยพมาสมทบกับพระเจ้าตากสินมหาราช
อาณาเขตของก๊กพระฝางจึงขยายมาถึงนครสวรรค์ ต่อมาเจ้าพระฝางได้ยกกองทัพลงมาตีชัยนาทและอุทัยธานีได้อีก
ซึ่งเมืองอุทัยธานีและชัยนาทนี้
เดิมเป็นเขตแดนของพระเจ้าตากสินมหาราช