-
ขับไล่พม่าออกจากเมืองไทย
-
อาณาเขตของก๊กพระฝางจึงกว้างใหญ่ไพศาลมากที่สุด
ซึ่งมีอาณาเขตดังนี้
คือ น่าน
แพร่ หลวงพระบาง
เวียงจันทร์
พิษณุโลก พิจิตร
นครสวรรค์ ชัยนาท
อุทัยธานี เจ้าพระฝางได้ติดที่จะขยายอาณาเขตในความปกครองของท่านให้กว้างออกไปอีก
แต่ได้พักกำลังกองทัพและดูท่าทีของก๊กอื่น
ๆ อยู่
-
ในขณะนั้นก๊กทั้งหมดมี
๖ ก๊ก แต่เหลืออยู่
๔ ก๊ก คือ
-
๑. ก๊กพระเจ้าตากสินมหาราช
ตั้งมั่นอยู่ที่กรุงธนบุรี
-
๒. ก๊กเจ้าพระฝาง
ตั้งมั่นอยู่ที่วัดพระฝาง
เมืองสวางคบุรี (ปัจจุบัน
คือตำบลผาจุก
อำเภอเมือง
จังหวัดอุตรดิตถ์)
ทั้งสองก๊กนี้มีกำลังเท่า
ๆ กัน แต่ก๊กของพระเจ้าตากสินมหาราชได้เปรียบกว่า เพราะผู้นำเป็นนักรบโดยแท้
ส่วนก๊กเจ้าพระฝางผู้นำเป็นนักบวช
อาศัยที่ประชาชนเลื่อมใสในเรื่องวิทยาอาคม เพราะในสมัยนั้นเชื่อถือเรื่องไสยศาสตร์กันมาก
ทำให้พุทธศาสนามีเข้ามาสอดแทรกอย่างมากมาย ก๊กพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถชัยชนะก๊กสุกี้พระนายกองที่ตั้งมั่นอยู่ในกรุงศรีอยุธยา
โดยพระเจ้าตากสินมหาราชตีเอากรุงศรีอยุธยาคืนมาได้
ส่วนก๊กเจ้าพระฝางก็สามารถก๊กพิษณุโลกได้
-
๓. ก๊กเจ้าพิมาย
หัวหน้า
คือ กรมหมื่นเทพพิพิธ
ซึ่งเป็นโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตั้งมั่นอยู่ที่เมืองพิมาย
(อยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา
ในปัจจุบัน)
-
๔. ก๊กเจ้านคร
หัวหน้า คือ
พระปลัด ผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
ได้ตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้าที่เมืองนครศรีธรรมราช เรียกกันว่า เจ้านคร
มีอาณาเขตอยู่ในอำนาจตั้งแต่หัวเมืองมลายูขึ้นมาจนถึงเมืองชุมพร
-
เมื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองไทยและตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงแล้ว
พระเจ้าตากสินมหาราชทรงคิดที่จะรวบรวมประเทศไทยให้เป็นปึกแผ่นต่อไป
เพราะในเวลานั้นคนไทยแบ่งกันเป็นก๊กเป็นเหล่า พระเจ้าตากสินทรงคิดว่า
แม้จะต้องรบกับคนไทยด้วยกันเองก็ต้องทำ
เพราะเพื่อความเป็นปึกแผ่นของประเทศชาติ
ดังนั้นใน พ.ศ. ๒๓๑๑
พระองค์จึงยกทัพมาตีก๊กพิษณุโลก
แต่ทรงพลาดท่าถูกข้าศึกยิงด้วยปืนมากถูกที่พระชงฆ์จึงยกทัพกลับและในปีเดียวกันได้เสด็จไปปราบก๊กเจ้าพิมาย
ทรงประสบชัยชนะเจ้าพิมายไม่ยอมอ่อนน้อม
จึงให้ประหารชีวิตเสีย
-
ในปี พ.ศ.
๒๓๑๒ ทรงยกกองทัพเรือไปตีก๊กเจ้านครได้สำเร็จ
-
ในปี พ.ศ.
๒๓๑๓ พระเจ้าตากสินมหาราชทรงคิดที่จะกรีฑาทัพมุ่งเข้าโจมตีก๊กเจ้าพระฝาง
ซึ่งเป็นก๊กสุดท้าย และกำลังความสามารถทัดเทียมกัน
และก๊กนี้มีอำนาจทางเหนือทั้งหมดยังได้คิดตีเอากรุงธนบุรีด้วย
ซึ่งถ้าตีเอากรุงธนบุรีได้ก็เท่ากับได้ปกครองเมืองไทยทั้งประเทศเหมือนกัน
-
เจ้าพระฝางก็ส่งกองทัพลงมาลาดตระเวนเช่นกัน
เป็นกองทัพย่อยซึ่งถ้าเห็นโอกาสก็จะตีเอากรุงธนบุรี
-
ในระยะเวลานั้น
ได้มีชาติฮอลันดาเข้ามาค้าขายกับธนบุรี
ได้นำปืนใหญ่เข้ามาถวายเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าไทย และทางอินเดียวก็ได้นำปืนคาบศิลา
จำนวน ๒,๐๐๐
กระบอก เข้ามาถวายเพื่อเปลี่ยนสินค้าเช่นเดียวกัน ทำให้กองทัพของพระเจ้าตากสินมหาราชเข้มแข็งขึ้น
ก็พอดีพระองค์ทรงทราบว่า
กองทัพลาดตระเวนของเจ้าพระฝางยกมาถึงเมืองอุทัยธานีแล้วและตั้งค่ายมั่นอยู่ที่ชัยนาท
พระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้จัดทัพเรือไปสกัดทัพเจ้าพระฝางไว้
-
ดังนั้น ในวันเสาร์
เดือน ๘ แรม
๑๔ ค่ำ พุทธศักราช
๒๓๑๓ (ตรงกับวันที่
๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๑๓)
พระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกกองทัพออกจากกรุงธนบุรีมุ่งไปต่ก๊กเจ้าพระฝาง
ทรงแบ่งทัพออกเป็น ๒
ฝ่าย คือ
ทัพบกและทัพเรือ
-
ทัพบกแบ่งออกเป็น ๒
ทัพ คือ ให้พระยายมราช
(บุญมา)
คุมทัพหนึ่งมีกำลังทหารประมาณ
๕,๐๐๐ นาย
ยกเลียบไปทางลำน้ำแควใหญ่
และอีกทัพหนึ่งให้พระยาพิชัยราชาควบคุม
มีกำลังทหารประมาณ ๕,๐๐๐
นาย ยกติดตามมาตามลำดับ