-
พระครูสุนทรศีลขันธ์
(เมือง)
-
หลังจากท่านพระครูสุนทรศีลขันธ์
(เมือง)
ได้มรณภาพเมื่อ ปี
๒๔๗๕ แล้ว ได้มีท่านมหา
-
โชติ ป.ธ.
๔ นักธรรมเอก
จากสำนักวัดอนงคาราม
มาเป็นผู้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส
ได้รักษาการประมาณ ๒ ปีเศษ
ก็ได้ลาสิกขาบทไป
ท่านพระมหาโชติองค์นี้
เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้เคยเรียนหนังสือกับท่านเมื่อสมัยหลวงพ่อเป็นสามเณร
(พระพิพัฒน์ธรรมคณี)
-
หลังจากนั้น
ได้มีท่านพระครูมงคลวิจิตร
(กล้วย) ดำรงตำแหน่งรักษาการประมาณ
๓ ปีเศษ
ได้ขอลาออกจากผู้รักษาการ
ท่านพระครูมงคลวิจิตร (กล้วย)
รูปนี้
ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมงคล
ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์
เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ
ที่พระศาสนานุรักษ์
ไปมรณภาพที่โรงพยาบาลจังหวัดชัยนาท
สถานที่ชาติภูมิของท่าน
-
ต่อจากนั้นท่านเจ้าคุณพระวิเชียรมุนี
วัดอินทาราม
เจ้าคณะตำบลบางยี่เรือ
ตลาดพลู ได้มารักษาการ ๒
ครั้ง
ครั้งแรกท่านได้รักษาการ
มีพระมหาชำนาญ วัดราชคฤห์
คอยช่วยติดต่อประสานงานให้ท่าน
แล้วท่านได้ลาออก ครั้งที่
สอง
ได้ปกครองโดยคณะกรรมการสงฆ์วัดราชคฤห์
โดยมีท่านเจ้าคุณพระวิเชียรมุนี
(พัน ป.ธ.๘)
เจ้าอาวาสวัดอินทารามวรวิหาร
เจ้าคณะตำบลบางยี่เรือ
ตลาดพลู
เป็นประธานรักษาการพระอารามนี้
มีพระคณะกรรมการสงฆ์มีรายนามดังต่อไปนี้
-
๑.
พระอาจารย์ปลีก
ญาณวิปุโล (เป็นกรรมวาจารย์
ของเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน)
-
๒.
พระอาจารย์เอี่ยม
(รูปนี้มีพรรษามาก
ได้เป็นผู้นำทำวัตรสวดมนต์ในพระอุโบสถ)
-
๓.
พระมหาชำนาญ
โชติธมโม (ภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส
และได้รับ
-
พระราชทานสมณศักดิ์
เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ
ที่ พระพิพัฒน์ธรรมคณี)
-
๔.
พระบุญเลิศ
อภิชาโต ทองหลิม (ต่อมาได้ลาสิกขาบท
ภายหลังได้กลับมาอุปสมบทอีก
-
ที่วัดโพธินิมิตสถิตมหาสีมาราม
มีพระโพธิสังวรเถระ
สมัยยังเป็นพระโพธิวรคุณ
เป็นพระอุปัชฌาย์
พระบุญเลิศ
ก่อนมรณภาพได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูผู้ช่วยเจ้าอาวาสชั้นเอกที่พระครูบริหารอาวาสวัตร)
-
ในปี
พ.ศ. ๒๔๙๓
พระมหาชำนาญ โชติธมโป ป.ธ.
๕
ได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้า
-
อาวาสรูปเดียว จนถึง
พ.ศ. ๒๔๙๕
จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสตามกฎหมายคณะสงฆ์
รวมเวลาที่วัดราชคฤห์วรวิหาร
พระอารามหลวงแห่งนี้ว่างจากเจ้าอาวาสเป็นเวลา
๑๗ ปีเศษ พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๙๔
-
พระอารามนี้ได้ร่วงโรยลง
เนื่องจากว่าสิ่งก่อสร้างเป็นต้นว่า
กุฎี พระวิหาร
ศาลาการเปรียญ
ชำรุดทรุดโทรมลงตามอายุ
ความเก่าคร่ำคร่าเนื่องจากระยะเวลาการก่อสร้างมาเป็นเวลานาน
ผู้ปกครองสืบ ๆ
ต่อกันมาได้รื้อถอนเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา
ที่เก่าหมดไปที่ใหม่ไม่ค่อยมีมาแทนที่
จึงคงอยู่แต่สถานที่ และปูชนียวัตถุสถานเท่านั้น
ที่คงยืนหยัดประกาศฐานะ
ความสำคัญของพระอารามหลวงนี้อยู่
-
ในฝ่ายพระภิกษุสามเณรผู้ที่อยู่จำพรรษานั้นเล่าก็เช่นเดียวกัน
ฝ่ายพระรามัญได้หมดไป
คงมีแต่ฝ่ายพระไทยเท่านั้น
และลดจำนวนลงมาก